วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พิธีไหว้ครู

พิธีไหว้ครู

การจัดพิธีไหว้ครูนั้นมักนิยมจัดกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก 1 วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ จะต้องไม่ตรงกับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครูตามแบบโบราณนั้น นิยมประกอบพิธีในเดือนที่เป็นเลขคู่ ยกเว้นเดือน 9 เดือนเดียวที่อนุโลม เพราะถือเป็นเคล็ดว่าเป็นเลขที่ดีก้าวหน้า และมักทำกันในวันข้างขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวันฟู ข้างแรมอันถือว่าเป็นวันจมไม่นิยมประกอบพิธีกัน

ความมุ่งหมายพิธีไหว้ครู

1. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฎศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว
3. เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม
4. เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
5. เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์

ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู
1. สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
2. สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า "ผิดครู"
3. เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว
4. ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
5. เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย


การตั้งเครื่องบูชาและเครื่องสังเวย

- ที่สำหรับครูปัธยาย จัดเครื่องสังเวยของสุกและเป็นเครื่องคู่ (คือสิ่งละ ๒ ที่)
- ที่สำหรับครูดนตรีอยู่ทางขวามือ จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องคู่
- ที่องค์พระพิราพทางด้านซ้ายมือ จัดเครื่องสังเวยของดิบเป็นเครื่องคู่
- ที่พระภูมิจัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว
- ที่ตรงหน้าเครื่องปี่พาทย์วงที่ใช้บรรเลงในพิธี จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว

รายละเอียดสังเวย มีดังนี้

บายศรีปากชาม 4 คู่ หัวหมูสุก 3 คู่ ดิบ 1 คู่
มะพร้าวอ่อน 4 คู่ เป็ดสุก 3 คู่ ดิบ 1 คู่
กล้วยน้ำ 4 คู่ ไก่สุก 3 คู่ ดิบ 1 คู่
ผลไม้ 7 อย่าง 4 คู่ กุ้งสุก 3 คู่ ดิบ 1 คู่
อ้อยทั้งเปลือก 1 คู่ ปลาสุก 3 คู่ ดิบ 1 คู่
เผือก มัน ถั่ว งา นม เนย 4 คู่ ปูสุก 3 คู่ ดิบ 1 คู่
เหล้า 4 คู่ หัวใจ ตับ หมูดิบ 1 คู่
เครื่องกระยาบวช 4 คู่ ไข่ไก่ดิบ 1 คู่
ขนมต้มแดง ขาว 4 คู่ หมูหนาม 4 คู่
เครื่องจิ้ม 4 คู่ ข้าวเหนียวหน้าเนื้อ หรือมะตะบะ 1 คู่
หมาก พลู บุหรี่ ไม้ขีดไฟ 4 คู่ น้ำเย็น 4 คู่
บุหรี่ กับ ชา 4 คู่

จัดสิ่งของเหล่านี้ให้ครบไม่ขาดไม่เกิน นอกจากเครื่องบูชาและเครื่องสังเวยแล้ว ยังมีเครื่องกำนล ประกอบด้วย ขัน 1 ใบ เงิน 6 บาท ผ้าห่มหรือผ้าเช็ดหน้า 1 ผืน เทียนขี้ผึ้งขาว 3 เล่ม ดอกไม้ ธูป บุหรี่ ไม้ขีดไฟ และหมากพลู 3 คำ ใช้ทั้งประธานในพิธีและผู้เข้าครอบครู

แหล่งที่มา http://group.wunjun.com/#!/buddha/topic/186350-4547/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น